หมอแจงสาเหตุที่ทำให้เด็กตาบอด หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์เกิดจากโรคไซนัสเฉียบพลันจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าสแตปฟิโลคอคคัสออเรียส
วันนี้ (9พ.ค.65) ที่ห้องประชุมชั้น4 ของศาลากลางจังหวัดภูเก็ต(หลังใหม่) นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายบัญชา ธนูอินทร์ นายอำเภอถลาง นพ.วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พญ.เหมือนแพร บุญล้อม รักษาการในตำแหน่งนายแพทย์สสจ.ภูเก็ต พญ.ณัฐวรรณ เทพณรงค์ หน.กุมารแพทย์และโรคติดเชื้อเด็ก นพ.คงกฤชกาญ จนไพผศิษฐ์ แพทย์หูคอจมูก พญ.ปรารถนา ตุลยกนิษก์ จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมจักษุและตกแต่งและเสริมสร้าง ได้ร่วมกันแถลงข่าวในกรณีที่สื่อได้นำข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก12ปี ตาบอดและหูหนวกจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่2
นายณรงค์ วุ่นซิ้วผู้ ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตกล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตได้รับทราบข้อมูลและได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้การช่วยเหลือและดูแลเด็กและครอบครัวอย่างใกล้ชิด
โอกาสนี้แพทย์หญิงณัฐวรรณ เทพณรงค์ นายแพทย์ชำนาญการกุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รายงานข้อมูลว่า เด็กชายนนทพัท แซ่อ๋อง อายุ 12 ปี มีประวัติการฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน2564 (10วันก่อนมาโรงพยาบาล) ข้อมูลการรักษาที่รพ.วชิระภูเก็ตเข้ารับการรักษาวันที่ 6 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2565 คณะแพทย์ได้ทำการรักษาและร่วมทำการวินิจฉัยโรค มีรายละเอียดดังนี้
เป็นอาการของโรคไซนัสอักเสบฉับพลันทุกไซนัส (Acutepansinusitis) จากเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัสออเรียส (Staphylococcusaureus) บริเวณ.เบ้าตาอักเสบและมีฝีหนองในเบ้าตาด้าน ขวา(Orbitalcellulitiswithretrobulbarabscessrighteye) จากเชื้อแบคทีเรียสแตปฟีโลคอคคัสออเรียส(Staphylococcusaureus) มีอาการเยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองอักเสบ (Meningoencephalitis) จากเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัสออเรียส (Staphylococcusaureus) พบกระดูกรอบๆ โพรงไซนัสและกระดูกรอบเบ้าตาอักเสบ (Osteomyelitisoforbitalbone)และภาวะอุดตันของแอ่งเลือดดำบริเวณฐานกะโหลก (Cavernoussinusthrombosis)
สำหรับการรักษาที่รพ.วชิระภูเก็ตระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 10 มกราคม 2565 แพทย์ได้ให้การรักษา ดังนี้
1.ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียทางหลอดเลือดดำที่ครอบกลุ่มเชื้อสแตปฟิโลคอกศัสออเรียส ร่วมกับยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดหยอดตา และให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียชนิดรับประทานต่อที่บ้าน
2.การรักษาโดยวิธีผ่าตัด
2.1ผ่าตัดไซนัสโดยวิธีการส่องกล้องวันที่7ธันวาคม2564
2.2ผ่าตัดเพื่อระบายหนองในเบ้าตาวันที่10ธันวาคม2564
2.3ผ่าตัดไซนัสโดยวิธีการส่องกล้องครั้งที่ 2 วัน ที่ 7 มกราคม 2565 เพื่อติดตามอาการและตัดพังผืดในโพรงไซนัส
3.ให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามมาตรฐานการรักษาภาวะอุดตันของแอ่งเลือดดำบริเวณฐานกะโหลก
4.ติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม เมื่ออาการคงที่แล้วจึงย้ายมาหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
ด้านนายแพทย์คงกฤช กาญจนไพศิษฐ์ แพทย์หูคอจมูกโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตกล่าวยืนยันว่า สาเหตุที่ทำให้เด้กอายุ 12 ปีตาบอดเกิดจากโรคไซนัสเฉียบพลันโดยการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าสแตปฟิโลคอคคัสออเรียส โดยได้ผลการยืนยันจากการตรวจของการนำเชื้อจากเบ้าตาฐานกะโหลกและไขสันหลังไปตรวจ พบเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัสออเรียสเหมือนกัน
ในส่วนของแพทย์หญิงปรารถนา ตุลยกนิษก์ จักษุแพทย์กล่าวถึงแนวทางการดูแลรักษาต่อเนื่องและการฟื้นฟูโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตได้นัดติดตามตรวจตาและให้คำแนะนำแนวทางการดูแลผู้ป่วย ทั้งแก่ผู้ป่วยเองและญาติที่ดูแลนัดทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องเพื่อฝึกการเดินการนั่งการเคลื่อนไหวและการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ ในชีวิตประจำวัน มีนัดติดตามที่คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและวางแผนส่งพบผู้เชี่ยวชาญ LowVisionclinic ที่แผนกจักษุโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติได้เข้าอบรมแนวทางในการดูแลตนเอง การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือวางแผนด้านการศึกษารวมไปถึงการงานและพื้นฐานอาชีพในอนาคต นัดติดตามอาการทางระบบประสาทที่คลินิกระบบประสาทเด็ก และนัดติดตามอาการเรื่องไซนัสอักเสบที่คลินิกหูคอจมูกเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างดีที่สุด
แพทย์หญิงวิทิตา แจ้งเอี่ยม รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตกล่าวว่า จากการประชุมของทีมแพทย์และคณะกรรมการวินิจฉัยผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน มีข้อสรุปยืนยันตรงกันว่ากรณีของเด็กอายุ 12 ปี มีอาการตาบอดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไม่ได้เกิดจากผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน ทั้งนี้การฉีดวัคซีนและการป่วยของน้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีนที่ทำให้ป่วยและในฐานะผู้บริหารจัดการการฉีดวัคซีนในภาพรวม ขอฝากถึงพี่น้องประชาชนว่าการฉีดวัคซีนอาจจะมีผลข้างเคียงบ้างหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงเช่น จะมีไข้อ่อนเพลียปวดบริเวณที่ฉีดหรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้บ้าง ในส่วนของเด็กอาการที่น่าเป็นห่วงคือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบโดยอุบัติการณ์ของการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบในเด็กภายหลังการฉีดวัคซีนของไทยเกิดน้อยกว่าต่างประเทศ โดยต่างประเทศพบ 150 คนใน 1 ล้านคนที่ฉีดวัคซีน ส่วนในประเทศไทยพบเพียง 10 รายจากสถิติการฉีดจำนวน 3 ล้านคนโดยทั้ง 10 รายรักษาหายเป็นปกติ
โอกาสนี้จึงอยากจะขอสร้างความเชื่อมั่นการได้รับวัคซีนจะก่อให้เกิดผลดีกับกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่โดยเฉพาะกลุ่ม 608 อยากจะให้ทุกคนมาฉีดวัคซีนจะช่วยลดอัตราความรุนแรงของโรคโควิด19 ลดอัตราการป่วยหนัก ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลลดอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 98-99
นางลักษณา อิศรางกูร ณ อยุธยา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดภูเก็ต ได้ดำเนินการช่วยเหลือเงินสงเคราะห์สำหรับครอบครัวที่ได้รับความลำบากและจดทะเบียนเป็นผู้พิการเพื่อให้ได้รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือนและจะเข้าสู่กองทุนคุ้มครองเด็กจะได้รับเงินค่าใช้จ่ายทางการศึกษาและค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลและส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้ปกครองในส่วนของการศึกษาจะหาสถานที่เรียนที่เหมาะสมให้ต่อไป
หมอแจงเด็ก 12 ตาบอดหลังฉีดไฟเซอร์ ไม่ได้เกิดจากวัคซีน แต่เป็นแบคทีเรีย - อมรินทร์ทีวี ช่อง34
Read More
No comments:
Post a Comment