ภาวะลองโควิด (Long COVID) คือภาวะที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดตั้งแต่เริ่มเป็นโควิด-19 ต่อเนื่องเป็นระยะยาว หรืออาจจะเกิดขึ้นภายหลังที่หายจากอาการทั้งหมดแล้ว
อาการที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกไม่สบายเหมือนกับไม่หายจากการเจ็บป่วยสักที ที่พบบ่อยคือการหายใจไม่อิ่มและไม่สุด มีอาการเหนื่อย เพลีย มึนศีรษะ คิดอะไรไม่ออก หรือซึมเศร้าและมีภาวะเครียด บางรายอาจปวดเมื่อย ปวดข้อ ใจสั่น โดยมักจะเป็นอยู่ในช่วงราว 1-3 เดือน หลังจากหายจากการติดเชื้อโควิด-19
LONG COVID มีผลแค่ไหนกับโรคสมองและระบบประสาท
เชื้อหมด ฤทธิ์ไม่หมด เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19
ภาวะลองโควิด (Long COVID) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านใดได้บ้าง
เมื่อเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ไวรัสจะทำให้เกิดการอักเสบได้ทั่วร่างกาย ซึ่งอาจจะไปทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ประสาท เซลล์สมอง ถุงลมปอด ไต หรืออวัยวะอื่นๆ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือทำให้มีอาการของ Long COVID ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในแต่ละคน ทั้งนี้ผู้ที่มีอาการรุนแรงขณะติดเชื้อ อาจทำให้เชื้อไปทำลายอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายให้มีความผิดปกติมากกว่าผู้ที่มีอาการน้อย แต่ก็ไม่ใช่ทุกราย
การฟื้นฟูร่างกายเมื่อมีภาวะลองโควิด (Long COVID)
โดยรวมแล้ว ภาวะลองโควิด ไม่มีการรักษาที่จำเพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และอื่นๆ ดังนี้
กลุ่มที่มีอาการ เเต่ไม่พบความผิดปกติของอวัยวะ
- การปรึกษาจิตแพทย์ : เมื่อมีปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ มีความเครียด หรือซึมเศร้า
- การทำกายภาพบำบัดปอด : เมื่อมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจไม่สุด หายใจไม่อิ่ม จะต้องฝึกการหายใจใหม่
- การทำกายภาพบำบัดร่างกาย : คนที่รู้สึกเหนื่อย เพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และปวดเมื่อย จะเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การวิ่งเยาะๆ เพื่อลดอาการภาวะลองโควิดและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
กลุ่มที่มีอาการ และมีความผิดปกติของอวัยวะ ได้แก่
- มีอาการเหนื่อย และตรวจพบเนื้อปอดมีพังผืด
- เส้นเลือดอุดตัน
- หัวใจอักเสบ
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเข้ารักษาในระบบ และติดตามอาการในระยะยาว
เคล็ดลับช่วยปอดผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) แข็งแรง
1.นอนหลับพักผ่อนให้เหมาะสม โดยตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาที หลีกเลี่ยงคาเฟอีน อาหารมื้อดึก งดการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อสร้างสุขอนามัย ในการนอนหลับที่ดี
2.ควรมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อยึดซี่โครง ด้วยการฝึกหายใจเข้าและออก โดยในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อรอบ ประมาณ 3 – 5 รอบ และระหว่างรอบให้พัก 30 – 60 วินาที จะช่วยเพิ่มความสามารถในการหายใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการเหนื่อย หายใจลำบาก ช่วยขับเสมหะ และป้องกันการเกิด ภาวะปอดแฟบ โดยสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกหรือคาร์ดิโอ ประมาณวันละ 30 – 60 นาที 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว รอบบ้าน ย่ำเท้าอยู่กับที่ การเต้นแอโรบิก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหายใจ การไหลเวียนของเลือด การทำงานของหัวใจและปอด ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
3.ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ บริเวณกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน สะบัก และ ลำตัวด้านข้าง เพราะเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยขยายกระบังลมและซี่โครง ทำให้หายใจได้ดีขึ้น หากกล้ามเนื้อเหล่านี้มีการตึงตัว ยึดเกร็ง ทรวงอกจะไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ พื้นที่ในทรวงอกลดน้อยลง ทำให้สมรรถภาพ การทำงานของปอดลดลงได้ ดังนั้น ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยการเหยียดแขน โก่งหลัง ชูแขนเอียงลำตัว และผสานมือที่ศีรษะ กางศอก แอ่นอก ยืดเหยียดในแต่ละท่าจนรู้สึกตึง ค้างไว้ 15 วินาที ให้ปฎิบัติท่าละ 2 รอบ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ปอดแข็งแรง ทั้งนี้ การฝึกบริหารปอด ออกกำลังกายแบบแอโรบิก และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ควรทำเป็นประจำเพื่อฟื้นฟูร่างกาย สร้างสุขภาพที่ดี
4.หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะควันบุหรี่ธรรมดาหรือแม้แต่บุหรี่ไฟฟ้า ฝุ่น PM2.5
โควิดวันนี้ (5 พ.ค. 65) พบติดเชื้อเพิ่ม 1.8 หมื่นราย สลดเสียชีวิตอีก 54 ราย
WHO ยกไทยเป็นประเทศต้นแบบรับมือโควิด เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท, กรมการแพทย์, กรมอนามัย
แนะวิธีรักษาฟื้นฟูร่างกาย เมื่อมีอาการ "ลองโควิด" (Long COVID) - PPTVHD36
Read More
No comments:
Post a Comment