Rechercher dans ce blog

Thursday, June 16, 2022

“ตรวจมวลกระดูก” ก่อน “กระดูกพรุน” (ตอน 1) - ไทยรัฐ

“ภาวะกระดูกพรุน” นับเป็นปัญหาสุขภาพหลักปัญหาหนึ่งของคนไทย ซึ่งสาเหตุหลัก คือ การขาดฮอร์โมนอีสโทรเจน พบมากที่สุดในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ความชรา ทำให้ลดการสร้างกระดูก พบทั้งในผู้หญิงและผู้ชายสูงอายุ และสุดท้ายคือ ภาวะหรือโรคที่ทำให้มีการทำลายกระดูก การสร้างกระดูกลดลง หรือการสร้างกระดูกผิดปกติ เช่น การขาดวิตามินดี ภาวะการทำงานมากผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์ ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น ซึ่งการจะสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น ก็ควรได้รับการวินิจฉัยให้เร็ว และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูกให้ช้าลงได้

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันสามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนโดยการวัดความหนาแน่นของกระดูก และหาสาเหตุของความผิดปกติของความหนาแน่นของกระดูก

การตรวจความหนาแน่นของกระดูก คือ อะไร

สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีมาตรฐานในการตรวจความหนาแน่นของกระดูก คือ การตรวจด้วยเครื่องรังสีเอกซ์สองพลังงานที่เรียกว่า dual X-ray absorptiometry (DXA) ที่เรียกโดยย่อว่า เด๊ก-สะ การตรวจนี้ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับรังสีปริมาณน้อยกว่าปริมาณรังสีที่ได้รับจากธรรมชาติใน 1 วัน

ขั้นตอนการตรวจและข้อจำกัดในการตรวจความหนาแน่นของกระดูก มีดังนี้

1. เจ้าหน้าที่จะซักประวัติ ดังนี้

     1.1 เรื่องการตั้งครรภ์เนื่องจากเป็นการตรวจด้วยรังสีจึงไม่ควรตรวจในผู้ที่ตั้งครรภ์

     1.2 ประวัติกระดูกหักเนื่องจากการมีกระดูกหักในบริเวณที่ตรวจอาจรบกวนการแปลผล นอกจากนี้ ตำแหน่งกระดูกหักและสาเหตุของการหักจะต้องนำไปประกอบการแปลผล

     1.3 ประวัติการตรวจความหนาแน่นของกระดูก กรณีที่เคยตรวจมาก่อนและต้องการ

เปรียบเทียบผลการตรวจ ต้องตรวจด้วยเครื่องเดิม หรือใช้เทคนิคเดียวกับการตรวจครั้งก่อน

     1.4 การได้รับสารทึบรังสีหรือสารเภสัชรังสี ในผู้ที่ได้รับสารทึบรังสีหรือสารเภสัชรังสี ควรรอให้สารเหล่านั้นถูกขจัดออกจากร่างกายก่อนขึ้นอยู่กับชนิดของสาร

2. การแต่งกาย เจ้าหน้าที่จะให้ผู้เข้ารับการตรวจสวมเสื้อผ้าเนื้อเบาที่ปราศจากวัสดุทึบรังสี (กรณีที่ไม่มีเสื้อผ้าลักษณะดังกล่าว สามารถเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าสำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลได้) และถอดเครื่องประดับต่างๆ ออก

3. การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง

4. การตรวจความหนาแน่นของกระดูก เจ้าหน้าที่เทคนิคจะจัดท่าผู้เข้ารับการตรวจให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ต้องการตรวจ โดยทั่วไปจะตรวจที่กระดูกสันหลังระดับเอวและกระดูกสะโพก เมื่อจัดท่าเสร็จแล้วเจ้าหน้าที่เทคนิคจะเริ่มให้เครื่องเริ่มทำการสแกนซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 1 นาทีต่อตำแหน่งที่สแกน ในการสแกนหัวตรวจและเตียงตรวจจะเคลื่อนที่อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกัน ระหว่างนี้ผู้เข้ารับการตรวจต้องไม่ขยับร่างกาย แต่สามารถหายใจได้ตามปกติ

5. การวิเคราะห์ผล เจ้าหน้าที่เทคนิคจะตรวจสอบภาพที่ได้จากการสแกน เพื่อแก้ไขในกรณีที่มีสิ่งรบกวนก่อนทำการวิเคราะห์ผล จากนั้นจึงส่งให้แพทย์ทำการแปลผล

ค่าที่ได้จากเครื่องรังสีเอกซ์สองพลังงานบอกอะไรบ้าง

ความหนาแน่นของกระดูกของผู้เข้ารับการตรวจ หน่วยเป็นกรัมต่อตารางเซนติเมตร T-score ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นของกระดูกของผู้ที่เข้ารับการตรวจกับของหญิงสาว ซึ่งถือเป็นวัยที่มีความหนาแน่นของกระดูกสูงที่สุด และ Z-score ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกับความหนาแน่นของกระดูกกับคนเพศและเชื้อชาติเดียวกันที่อยู่ในวัยเดียวกัน

สัปดาห์หน้ายังมีเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องกระดูกพรุนกันต่อ รอติดตามกันนะคะ

แหล่งข้อมูล

รศ.พญ.ชนิกา ศรีธรา สาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Adblock test (Why?)


“ตรวจมวลกระดูก” ก่อน “กระดูกพรุน” (ตอน 1) - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

ทำงานหนักจนลืมกินข้าว ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารจริงหรือไม่? - Hfocus

การกินอาหารไม่ตรงเวลา มีผลต่อโรคกระเพาะจริงไหม? ปรับพฤติกรรมอย่างไรจะช่วยลดอาการป่วย  ด้วยพฤติกรรม การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้บางคนไม่สามา...