Rechercher dans ce blog

Friday, June 10, 2022

หมอธีระวัฒน์ เตือนผู้สูงอายุออกกำลังกายหนักอาจเสี่ยงสมองเสื่อม - ช่อง 7HD

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเตือนถึงการออกกำลังกายในกลุ่มของผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการสมองเสื่อม กลับผมว่ายิ่งทำให้สมองแย่ลง ส่วนคนวัยหนุ่มสาวนั้น สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ เพราะเส้นเลือดและสมองยังดีอยู่ โดยอ้างอิงข้อมูลจากบทความ  How Much Exercise Is Too Much for the Brain? (ออกกำลังกายมากแค่ไหน จึงอันตรายต่อสมอง) เผยแพร่ใน Medscape (เว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลทางการแพทย์) และข้อมูลจากวารสารทางสมอง Neurology 2018 ซึ่งได้เอาการวิจัย 98 อันเกี่ยวกับการออกกำลังกายมาวิเคราะห์ แต่ Dementia and physical activity (DAPA) trial ลงในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ BMJ 2018 เอาคนที่เป็นสมองเสื่อมมาออกกำลังกายพบว่าออกมากไปสมองจะแย่

โดยโพสต์ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ระบุว่า แล้วออกกำลังกายเท่าไรจึงจะดี? เพราะออกกำลังกายนั้นข้อมีดีจำนวนมาก นอกจากหุ่นดีน่ามองแล้ว การไปยกน้ำหนักยังเพิ่มการหลั่งสารความสุขเอนดอร์ฟิน น่าจะช่วยอายุยืน เพราะปรับโรงพลังงานของร่างกายหรือไมโทคอนเดรีย (autophagy regulator) รวมทั้งให้ร่างกายผลิตสารกัญชาธรรมชาติ ให้รู้สึกดี อารมณ์ดี คลายเครียด นอนหลับสบาย หัวใจและเส้นเลือดดี ลดมะเร็ง ลดเบาหวาน

จากการศึกษาใน Neurology 2018 พบว่าในคนวัยกลางหรือสูงวัยที่ทั้งมีโรคสมองเสื่อมอ่อน ๆ หรือที่สมองยังแข็งแรงดีอยู่ พบว่ายิ่งออกกำลังกายเยอะก็ยิ่งทำให้ สมองดี คิดเร็วขึ้น การตัดสินใจเฉียบขาดขึ้น และจะออกแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นปั่นจักรยาน วิ่ง ยกน้ำหนัก โยคะ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เพราะว่าออกกำลังกาย สุขภาพหัวใจ และเส้นเลือดจะดีขึ้น แปลว่าสมองจะได้รับสารอาหารเพียงพอ และยังเป็นไปได้ว่าการที่เลือดสูบฉีดดีจะทำให้สารพิษหรือโปรตีนผิดปกติถูกล้างออกไปได้เร็วขึ้น และสารเคมีที่หลั่งออกมาตอนออกกำลังกายอาจจะมีส่วนช่วยปรับสมดุลในสมองอีกด้วย

แต่การศึกษา Dementia and physical activity (DAPA) trial จากอังกฤษเป็นการศึกษาโดยแบ่งคนไข้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสมองเสื่อมขั้นน้อยถึงปานกลางออกเป็นสองกลุ่ม (Randomised controlled trial) โดยกลุ่มแรกให้ออกกำลังกายโดยแอโรบิกและยกน้ำหนัก 150 นาทีในหนึ่งสัปดาห์เป็นเวลาต่อเนื่องสี่เดือนและให้ทำต่อไปเรื่อย ๆ ส่วนกลุ่มที่สองให้ดูแลตามเดิม ผลกลับผิดคาดเพราะหลังจากผ่านไป 12 เดือน การทำงานของสมองในกลุ่มออกกำลังกายกลับแย่ลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ให้ออกกำลังกาย จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่า ในกลุ่มคนที่เป็นสมองเสื่อมไปแล้ว การออกกำลังกายมากเกินไปแบบหนักหน่วงอาจจะไม่ดี

ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะสายเกินไปแล้วและเส้นเลือดที่ตีบ รวมกับสมองที่ทำงานอาจจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพแล้ว เมื่อออกกำลังกายหนัก พลังงานจากการหล่อเลี้ยงของเลือด จึงถูกเอาไปใช้กับกล้ามเนื้อในร่างกายจนเกินไป สมองจึงได้รับการกระทบกระเทือนหนักกว่าเดิม แต่ข้อดีกับการออกกำลังกายสำหรับคนดูแลก็คือ คนไข้ร่างกายแข็งแรงจึงสามารถช่วยเหลือตัวเองในการเดินเหินได้ง่ายกว่าถ้าเทียบกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย แต่ไม่อาจสรุปได้ว่าแบบไหนดีที่สุด เพราะคนแต่ละคนสภาพร่างกาย ระดับไขมันหรือกล้ามเนื้อก็ไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น คนที่อ้วนลงพุง ควรจะออกกำลังกายแนวแอโรบิกเพิ่มอัตราการเต้นหัวใจเพื่อลดไขมันที่พุง เพราะยิ่งไขมันรอบเอวมาก สมองส่วนความจำก็จะยิ่งเล็ก ส่วนคนที่กล้ามเนื้อน้อย ควรจะยกน้ำหนักเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ เพราะกล้ามเนื้อสามารถช่วยใช้น้ำตาลในเลือดได้ดีและปกป้องสมองได้ ขณะที่หนุ่มสาวที่ออกกำลังกายกันหนัก ๆ ก็ไม่ต้องห่วงเพราะสมองและเส้นเลือดยังดี แต่อย่าลืมทานอาหารให้เพียงพอ และควรมีวันพักผ่อน เพราะร่างกายต้องการการฟื้นฟู

Adblock test (Why?)


หมอธีระวัฒน์ เตือนผู้สูงอายุออกกำลังกายหนักอาจเสี่ยงสมองเสื่อม - ช่อง 7HD
Read More

No comments:

Post a Comment

ทำงานหนักจนลืมกินข้าว ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารจริงหรือไม่? - Hfocus

การกินอาหารไม่ตรงเวลา มีผลต่อโรคกระเพาะจริงไหม? ปรับพฤติกรรมอย่างไรจะช่วยลดอาการป่วย  ด้วยพฤติกรรม การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้บางคนไม่สามา...