มะเร็งเต้านมไม่ได้พบแค่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่ผู้ชายถึงแม้จะมีความเสี่ยงน้อย แต่ก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
มะเร็งเต้านม สามารถพบทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่พบในเพศชายในอัตราที่น้อยมาก โดยความเสี่ยงของผู้ชายจะเป็นเพียง 1- 0.5 ของผู้หญิง 100 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการ และมักมาพบแพทย์ด้วยการคลำพบก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้ แต่การวิจัยและการหาสาเหตุอย่างตรงจุดของมะเร็งเต้านมนั้นจะยังมีข้อมูลน้อยในปัจจุบัน จึงไม่ควรที่จะละเลยต่อโรคนี้ว่าเกิดได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น
ก้อนเนื้อเต้านม จำเป็นต้องผ่าตัดไหม? ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม
จับตา 5 มะเร็งยอดฮิต ก่อนคุกคามชีวิต "ผู้ชาย" ใกล้ตัว
สาเหตุมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมนั้นยังไม่พบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่อย่างไรก็พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้ก่อเกิดโรค ทั้งจากสภาพแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมการใช้ชีวิตระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติทางพันธุกรรม โอกาสในการรักษาหายมีสูง หากถูกตรวจพบเจอความผิดปกติในระยะแรกเริ่ม ความผิดปกติของร่างกายแม้เพียงเล็กน้อยที่หลายครั้งเราอาจมองข้ามไป ปล่อยทิ้งไว้นานวันเข้าจนอาการผิดปกติรุนแรงขึ้น จึงได้มาพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย กลับพบว่าเป็นโรคร้ายในระยะลุกลาม
ปัจจัยของมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
1. ในครอบครัวมีผู้เคยประวัติเคยเป็นมะเร็งครอบครัว
2. ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง)มีมากกว่าปกติ
3. ความผิดปกติของลูกอัณฑะ เช่น มีอาการอักเสบไม่ทราบสาเหตุ , มีข้างเดียว , ผิดรูป
4. ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไปมักมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ
10 วิธีรับมือโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง รู้แนวทางป้องกันไว้ดีกว่าแก้
10 ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารต้านโรคมะเร็ง
อาการที่พบมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
1. มีก้อนแข็งบริเวณเต้านม
2. มีน้ำหรือเลือดออกมจากเต้านม
3. มีผื่นขึ้นเรื้อรังบริเวณเต้านม
4. หัวนมมีความผิดปกติ เช่น ยุบตัว มีสีแดงจนผิดสังเกต
แสบ ขัด ปัสสาวะไม่สุด ระวังโรค "มะเร็งต่อมลูกหมาก"
3 สารอาหารคุณค่าดี ช่วยป้องกันโรค "มะเร็งต่อมลูกหมาก"
วิธีลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
1. สังเกตอาการผิดปกติ ด้วยการคลำเต้านม อย่างน้อยเดือนละครั้ง หากพบความผิดปกติให้มาพบแพทย์
2. พักผ่อนให้เพียงพอ อาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3. ควบน้ำหนักไม่ให้อ้วนมากเกินไป
การตรวจ
- การตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ วิธีนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าก้อนที่ตรวจพบนั้นเป็นก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำ จึงควรจะต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อยืนยันเพิ่มเติม
- การตรวจอัลตราซาวด์เต้านม วิธีการนี้ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำ
- การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม (Fine-needle aspiration) เป็นการตรวจที่แพทย์จะทำการเจาะดูดของเหลวออกจากในก้อนถุงน้ำ ถ้าของเหลวที่ดูดออกมาไม่มีเลือดปนก็ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อ
"มะเร็ง" จำเป็นหรือไม่ต้องให้ "คีโม" รู้จักอีก 3 ทางเลือกการรักษา
"สุดยอดอาหาร" อุดมคุณค่ากินได้ทุกวัน ทางออกของคนกลัวมะเร็ง
4 ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติ เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านม
เสียใจได้แต่อย่าสิ้นหวัง เพราะมะเร็งเต้านมสามารถรักษาได้ และควรรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งให้ผลการรักษาดี บางรายสามารถหายได้
1. การตรวจเจอมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก ควรจะดีใจมากกว่าเสียใจ เพราะการเจอมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ดีกว่าเจอตอนมีอาการ หรือคลำพบก้อนที่เต้านมแล้ว
2. ควรพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านม สามารถให้แนวทางการรักษามะเร็งที่ได้มาตรฐาน ทางเลือกในการรักษา แต่ละวิธีมีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไร และสุดท้ายแพทย์จะวางแผน และแนะนำทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด
3. ผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลที่เพียงพอก่อนทำการรักษา ดังนี้
- ข้อมูลเกี่ยวกับตัวโรคว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิดใด แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยมีความเชี่ยวชาญด้านใด และเชี่ยวชาญเฉพาะทางจริงหรือไม่
- มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร เช่น ถ้าเป็นมะเร็งระยะต้น ซึ่งหมายถึงจากการประเมินผู้ป่วยโดยการตรวจร่างกายด้วยเครื่องแมมโมแกรม และอัลตร้าซาวด์แล้ว คาดว่าเป็นระยะที่ 1 หรือ 2 ขั้นตอนต่อไปหลังจากทราบผลการตรวจชิ้นเนื้อ
- การรักษาวิธีใดดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย กับแพทย์แนะนำอย่างไร หากยังไม่แน่ใจในการรักษาของแพทย์ สามารถนำผลตรวจไปปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลอื่นได้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- หลังผ่าตัด จะต้องมีการรักษาอะไรอีกบ้าง
เมื่อทราบดังนี้แล้ว ขอให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเข้มแข็ง ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการรักษา ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐาน ซึ่งแผนการรักษาในปัจจุบันมีทางเลือกเพื่อผลการรักษาที่ดี และมีโอกาสหายได้
"ไฝ" แบบไหนถึงน่ากลัว สัญญาณร้ายโรคมะเร็งผิวหนัง
กินอร่อย “ติดเค็ม” ตามใจปาก เสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร
การรักษามะเร็งเต้านมในผู้ชาย
การรักษามะเร็งเต้านมนั้นต้องอยู่ในความพิจารณาจองแพทย์ และระยะของมะเร็งที่ลุกลามนั้นว่าควรใช้วิธีไหนที่เหมาะสมต่อการรักษา
1. การผ่าตัดเต้านม
2. การใช้ฮอร์โมนระระยาว
3. การใช้เคมีบำบัด
4. การฉายรังสี
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล
"มะเร็งเต้านม" ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้หญิง ผู้ชายก็เป็นได้! - PPTVHD36
Read More
No comments:
Post a Comment