หลังจากที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์ระบาดของโรคฝีดาษลิง (monkeypox) ยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อ จำนวน 92 คน สงสัย 28 คน ใน 12 ประเทศ ระหว่าง 13-21 พ.ค. 65 ได้แก่ ออสเตรเลีย, เบลเยียม, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, โปรตุเกส, สเปน สวีเดน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ
นพ.สก็อตต์ ก็อตต์ลีบ อดีตประธานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เปิดเผยในรายการ "Squawk Box" ของสำนักข่าว CNBC ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯและยุโรป ชี้ว่า ไวรัสดังกล่าวได้แพร่กระจายไปทั่วชุมชนต่างๆเป็นวงกว้างแล้ว คาดว่า การแพร่ระบาดอาจจะไม่รุนแรงเท่ากับโรคโควิด-19
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่พบได้ยาก ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นขึ้นตามร่างกายและใบหน้า โดยฝีดาษลิงแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับแผลของผู้ติดเชื้อและมีระยะฟักตัวนาน 21 วันขึ้นไป นั่นหมายความว่าหลายคนอาจกำลังมีไวรัสฟักตัวอยู่ เนื่องจากผู้ติดเชื้อมักไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือวินิจฉัยผิดพลาด
โรคฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้งในไนจีเรียเมื่อปี 2560 และได้แพร่ระบาดในหลายประเทศในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องแจ้งเตือนแพทย์และประชาชนเกี่ยวกับไวรัสดังกล่าว
นพ.ก็อตต์ลีบ กล่าวว่า มีผู้ติดเชื้อหลายรายที่ไม่มีความเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดกัน ชี้ว่า มีการแพร่ระบาดในชุมชนเป็นวงกว้างแล้ว ตัวเลขจริงอาจมีมากกว่าที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบอยู่มาก เนื่องจากไวรัสมีระยะฟักตัวนาน และแพทย์ยังไม่ทราบวิธีตรวจพบโรคดังกล่าว
เดลี่เมล รายงาน เบลเยียม กลายเป็นประเทศแรกที่ออกมาตรการบังคับให้ผู้ที่ผลตรวจยืนยันติดเชื้อฝีดาษลิงที่กำลังระบาดในหลายประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปยุโรป โดยกระทรวงสาธารณสุขเบลเยียมได้ออกคำสั่งให้ผู้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและผลออกมายืนยันว่าติดเชื้อฝีดาษลิงจะต้องกักตัวเป็นเวลา 21 วัน หรือ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสฝีดาษลิงแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น
#ฝีดาษลิง
แฟ้มภาพ
จส. 100 - จส. 100
Read More
No comments:
Post a Comment