Rechercher dans ce blog

Monday, May 23, 2022

"หมอแล็บฯ" เผยโอกาสติด "โรคฝีดาษลิง" คุมการระบาดได้ด้วยวัคซีนไข้ทรพิษ - ไทยรัฐ

หมอแล็บแพนด้า เผยข้อมูลโรค "ฝีดาษลิง" คนติดจากการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ เปิดอาการเบื้องต้น ย้ำยังไม่มีการรักษา แต่คุมการระบาดได้ ด้วยการฉีดวัคซีนโรคไข้ทรพิษ

จากกรณี โรค "ฝีดาษลิง" ซึ่งขณะนี้พบว่ามีผู้ติดเชื้อแล้วในแถบยุโรป ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง เจ้าของเฟซบุ๊กเพจ "หมอแล็บแพนด้า" ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ไว้ดังนี้ "ฝีดาษลิง" เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และเริ่มมีติดจากคนสู่คนได้

ที่จริงโรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก แต่ตอนนี้มันเริ่มระบาดเพราะการเดินทางไปทั่วโลกเดี๋ยวนี้มันง่าย

องค์การอนามัยโลกได้ออกมาบอกรายละเอียดการติดเชื้อ 3 อย่างหลักๆ ที่เจอในตอนนี้ก็คือ

1. ผู้ติดเชื้อทุกคนไม่มีประวัติการเดินทางไปยังพื้นที่ที่เป็นจุดที่มีแพร่ระบาดของฝีดาษลิง (ถึงจะเดินทางไปประเทศในแอฟริกา แต่ก็ไม่ได้เป็นจุดที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก)

2. ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางเพศ และเป็นกลุ่มชายรักชาย

3. พื้นที่ที่พบการติดเชื้อ คือในยุโรป และเชื่อว่าน่าจะมีการแพร่เชื้อมาสักระยะนึงแล้ว
"โรคฝีดาษลิง" เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์มีใช้ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า คนก็สามารถติดโรคได้

ซึ่งคนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน กาทำอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่ค่อยสุก หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย

การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่ตอนนี้เกิดขึ้นแล้วจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่ง จากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ พอเข้าสู่ร้างกายมันจะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน

อาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอัตราการเสียชีวิต 10%

สำหรับการป้องกัน

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า
4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยง หรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการคัดกรองโรค
5. กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักตัว

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงโดยตรง แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85%.

ที่มาจาก เฟซบุ๊กเพจ หมอแล็บแพนด้า

Adblock test (Why?)


"หมอแล็บฯ" เผยโอกาสติด "โรคฝีดาษลิง" คุมการระบาดได้ด้วยวัคซีนไข้ทรพิษ - ไทยรัฐ
Read More

No comments:

Post a Comment

ทำงานหนักจนลืมกินข้าว ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารจริงหรือไม่? - Hfocus

การกินอาหารไม่ตรงเวลา มีผลต่อโรคกระเพาะจริงไหม? ปรับพฤติกรรมอย่างไรจะช่วยลดอาการป่วย  ด้วยพฤติกรรม การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้บางคนไม่สามา...