แต่หน่วยงานด้านความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร UKHSA ยืนยันว่าวัคซีนโควิดไม่ใช่สาเหตุ และการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบในเด็ก ไม่เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19
โดยขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตั้งสมมติฐานถึงความเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสอะดีโนที่อาจกระตุ้นให้มีตับอักเสบได้ง่ายขึ้น
ความเป็นไปได้อีกหนึ่งข้อคือ เมื่อเด็ก ๆ เหล่านี้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติภายหลังมีการประกาศยกเลิกข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับโควิด ทำให้เพิ่งได้สัมผัสกับเชื้อไวรัสอะดีโนเป็นครั้งแรก ในช่วงวัยที่ช้าเกินกว่าปกติเล็กน้อย จนนำไปสู่การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน "อย่างรุนแรง"
ดร.มีรา ชาน จาก UKHSA กล่าวว่า แม้ช่วงเวลาปัจจุบันจะทำให้ผู้ปกครอง เกิดความกังวล ทว่าขั้นตอนการรักษาความสะอาดขั้นพื้นฐาน อาทิ การล้างมือบ่อย ๆ สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสจำนวนมากในเด็กได้
ทั้งนี้ หากเด็กคนไหนมีอาการท้องเสียหรืออาเจียน ให้รักษาตัวอยู่ที่บ้านและไม่กลับไปโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงดูเด็กจนกว่าจะครบ 48 ชั่วโมง หลังไม่มีอาการ
- ทำความรู้จักไวรัสตับอักเสบ
ข้อมูลจากโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เปิดเผยว่า ไวรัสตับอักเสบมี 5 ชนิด ประกอบด้วย ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดีและอี โดยไวรัสที่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบีและซี เนื่องจากไวรัสทั้งสองชนิดทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมีมะเร็งตับตามมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ในประเทศไทย คาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีประมาณ ร้อยละ5 ของประชากร หรือประมาณ 3 ล้านคน ส่วนผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร หรือประมาณ 1 ล้านคน
ด้าน ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเวชธานี เปิดเผยว่าสำหรับโรคตับในเด็กนั้น ตับถือเป็นอวัยวะอยู่ในช่องท้องด้านบนขวา มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น รับเลือดจากลำไส้ซึ่งมีสารอาหารจำนวนมากและส่งผ่านสารอาหารเหล่านี้ไปยังร่างกายส่วนอื่นๆ ทำลายสารพิษในเลือดที่มาจากลำไส้
ผลิตน้ำดีแล้วส่งน้ำดีผ่านมาตามท่อน้ำดีมาเก็บที่ถุงน้ำดี เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันถุงน้ำดีจะหดรัดตัว ทำให้น้ำดีไหลผ่านท่อน้ำดีลงมายังลำไส้เล็กเพื่อช่วยในการย่อยและดูดซึมไขมัน ผลิตสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว
โดยส่วนใหญ่คนทั่วไปจะทราบว่า ผู้ที่จะเป็นโรคตับมีแต่เพียงผู้ใหญ่ที่ดื่มเหล้าหรือติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีหรือซี แล้วเกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งหรือมะเร็งตับ แต่จริงๆ แล้วเด็กเล็กๆ ก็ป่วยเป็นโรคตับได้เหมือนกัน
- เช็กอาการโรคตับอักเสบในเด็ก
บุคลากรทางการแพทย์ออกมาแนะนำให้ผู้ปกครองสังเกตอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคดีซ่าน หรือภาวะที่ผิวหนังและตาขาวเป็นสีเหลือง รวมไปถึงสารคัดหลั่งในร่างกายอาจจะมีสีเหลืองด้วย
ส่วนอาการอื่นๆ ของโรคตับอักเสบในเด็ก ได้แก่
- ปัสสาวะมีสีเข้ม
- อุจาระเป็นสีเทาหรือซีด
- คันตามผิวหนัง
- เจ็บตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- มีไข้สูง
- อ่อนเพลียตลอดเวลา
- ไม่อยากอาหาร
- เจ็บบริเวณช่องท้อง
- ตับอักเสบในไทย
ตามข้อมูลจาก WHO โรคไวรัสตับอักเสบรั้งอันดับที่ 7 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั่วโลก และยังเป็นโรคติดต่อเพียงโรคเดียวที่มีอัตราของผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น
"ภาวะตับอักเสบส่งให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยเท่ากับหรืออาจจะมากกว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจากวัณโรคและโรคเอดส์ หรือวัณโรคและโรคมาลาเรียรวมกัน" WHO ระบุ
แม้ว่าเชื้อไวรัสจะเป็นสาเหตุสำคัญของโรค ทว่าปัจจัยอื่น ๆ อาทิ การติดเชื้อ, สารพิษ อาทิ แอลกอฮอล์ หรือ ยาเสพติดบางประเภท รวมไปถึง โรคถูมิต้านทานเนื้อเนื่อของตนเอง (autoimmune disease) ก็อาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน
สำหรับอาการโรคตับอักเสบที่อาจจะเกิดขึ้นในเด็ก โดยอาจมีอาการดีซ่านคือตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง
ถ้าเป็นโรคตับเรื้อรัง เด็กอาจมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น
ท้องโต เกิดจากภาวะท้องมานคือ มีน้ำในช่องท้อง หรือเกิดจากตับและม้ามมีขนาใหญ่ขึ้น
ขาหรือหน้าบวม เกิดจากการที่ตับไม่สามารถสร้างโปรตีนได้
ผอม แขนขาลีบ เกิดจากการที่รับประทานอาหารได้น้อยลงร่วมกับร่างกายเผาผลาญสารอาหารมากกว่าปกติ
อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำๆ เกิดจากเส้นเลือดในหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารที่โป่งพองขึ้นแล้วแตกทำให้มีเลือดออก
เลือดออกเองหรือออกแล้วหยุดยาก เกิดจากตับไม่สามารถผลิตสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว
- สาเหตุเกิดโรคตับเฉียบพลัน
โรคตับอาจเป็นชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับเฉียบพลัน ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอ หรือ อี ซึ่งจริงๆ แล้วในเด็กส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ
การติดเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น ไวรัสเดงกี่ที่ทำให้เกิดไข้เลือดออก ไวรัสอีบีวี
การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อไข้ทัยฟอยด์
ยา เช่น ทานยาพาราเซตามอล (ยาลดไข้แก้ปวด) เกินขนาด ยาแก้อักเสบ ยารักษาวัณโรค ยาสมุนไพร
ทั้งนี้ เด็กที่เป็นโรคตับเฉียบพลันส่วนใหญ่จะหายได้เอง ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแพทย์จะให้การรักษาประคับประคองตามอาการเท่านั้น ถ้ามีสาเหตุจากยาแพทย์จะแนะนำให้หยุดทานยานั้นๆ ถ้าเกิดจากทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาลและให้ยาแก้พิษ
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับเรื้อรัง ได้แก่
- ความผิดปกติของท่อน้ำดี เช่น โรคท่อน้ำดีตีบตัน โรคท่อน้ำดีโป่งพอง โรคท่อน้ำดีในตับมีจำนวนลดลง เด็กจะมีอาการดีซ่านตั้งแต่เกิดหรือภายในอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์เท่านั้น
- การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เช่น ไวรัสตับอักเสบ บี หรือ ซี ในประเทศไทยเด็กที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี มักเกิดจากติดเชื้อจากมารดาระหว่างคลอด เด็กจะไม่แสดงอาการผิดปกติจนกว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจเกิดตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็งหรือมะเร็งตับได้เหมือนผู้ใหญ่ ส่วนเด็กที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี มักเกิดจากได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้อไวรัสอยู่
ในปัจจุบันจะพบน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากการตรวจกรองเลือดหาเชื้อไวรัสก่อนจะนำไปให้ผู้ป่วยภาวะที่มีสารทองแดงสะสมในตับมากกว่าปกติ โรคไขมันในตับ มักพบในเด็กอ้วน เด็กที่เป็นโรคตับเรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
- แนวทางการรักษาโรคตับอักเสบในเด็ก
ในส่วนของการรักษาที่มีการใช้ยาหรือการผ่าตัดแล้วแต่สาเหตุของโรค
สิ่งที่อยากเน้นให้ประชาชนทั่วไปทราบคือ เด็กทารกที่มีความผิดปกติของท่อน้ำดี เช่น โรคท่อน้ำดีตีบตันมักมาพบแพทย์ช้า เพราะคุณพ่อคุณแม่คิดว่าเกิดจากเด็กทานนมแม่และมักได้รับคำแนะนำจากญาติผู้ใหญ่หรือเพื่อนบ้าน ให้นำเด็กไปตากแดดหรือให้เด็กดื่มน้ำมากๆ
โรคท่อน้ำดีตีบตันต้องรักษาด้วยการผ่าตัดภายในอายุ 2 เดือน เพื่อไม่ให้ตับเกิดการอักเสบรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นตับแข็ง ส่งผลให้เด็กเสียชีวิตภายในอายุ 2 ปี จะเห็นได้ว่าถ้าประชาชนทั่วไปรู้จักโรคตับในเด็กดีขึ้น และพาเด็กมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้เด็กหายจากโรคตับ หรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
- การป้องกันไวรัสตับอักเสบในไทย
เมื่อ 20 เม.ย. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการกำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ ระหว่าง นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดสธ. กับนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อพัฒนาแผนในการค้นหา คะดกรองกลุ่มเสี่ยงเพื่อส่งเข้าระบบการรักษาในสถานพยาบาลต่อไป
ปัจจุบันภายใต้ระบบกันสุขภาพถ้วนหน้า (สปสช.) วัคซีนที่เกี่ยวข้องกับไวรัสตับอักเสบบีและซียังไม่ครอบคลุมทั้งหมด
วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี เป็นวัคซีนที่ให้ในเด็กที่มีอายุ 0, 2, 4 และ 6 เดือน โดย สปสช.พยายามผลักดันและพูดคุยกับกรมควบคุมโรคและอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติให้ขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังคนไทยทุกคนที่เกิดก่อนปี 2535 เนื่องจากเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญ สถานะล่าสุดยังอยู่ "ระหว่างดำเนินการ"
สำหรับยารักษาไวรัสตับอักเสบซีทุกสายพันธ์ ปัจจุบันเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ปี 2562 และกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
อ้างอิง:บีบีซี ประเทศไทย , CNN, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์,โรงพยาบาลเวชธานี,สปสช.
เช็กอาการ "ตับอักเสบในเด็ก"เกี่ยวกับฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่? - กรุงเทพธุรกิจ
Read More
No comments:
Post a Comment