Rechercher dans ce blog

Monday, May 9, 2022

มะกันพบเคสผู้ป่วยโควิดอาการกำเริบ หลังรับยาแพกซ์โลวิด - มติชน

ยาแพกซ์โลวิดของไฟเซอร์ซึ่งเป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จนมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เกิดคำถามใหม่เกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาดังกล่าว หลังพบกรณีผู้ป่วยจำนวนไม่มากมีอาการกำเริบขึ้นหลังทานยาแพกซ์โลวิดเข้าไป

แพทย์ได้เริ่มรายงานว่ามีผู้ป่วยบางรายที่มีอาการกำเริบกลับมาหลังรับประทานยาแพกซ์โลวิดครบ 5 วัน จึงทำให้เกิดคำถามว่าผู้ป่วยเหล่านี้ถือว่ายังคงเป็นผู้ติดเชื้อหรือไม่ และควรที่จะได้รับยาแพกซ์โลวิดโดสที่ 2 ต่อเนื่องกันไปด้วยหรือไม่

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ (อย.) ระบุว่า ไม่แนะนำให้แจกยาแพกซ์โลวิดโดส 2 ให้กับผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบซ้ำ เนื่องจากมีความเสี่ยงน้อยที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเกิดอาการของโรคร้ายแรง หรือต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

ดร.ไมเคิล ชาร์เนส รายงานเมื่อเดือนเมษายน ว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วอายุ 71 ปี ที่หายจากโควิด-19 แล้วแต่อาการกลับกำเริบขึ้น พร้อมกับมีจำนวนไวรัสที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 9 วัน

ดร.ชาร์เนสยืนยันว่า แพกซ์โลวิดยังคงเป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูง แต่เขาตั้งข้อสงสัยว่ายาดังกล่าวอาจมีศักยภาพน้อยในการรับมือกับไวรัสโควิดกลายพันธุ์โอมิครอนหรือไม่ เนื่องจากยาดังกล่าวได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพกับการต้านไวรัสโควิดกลายพันธุ์เดลต้าเป็นหลัก

อย.สหรัฐระบุว่า ราว 1%-2% ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาประสิทธิภาพของยาแพกซ์โลวิดโดยไฟเซอร์ แสดงให้เห็นว่าระดับไวรัสของพวกเขากลับเพิ่มสูงขึ้นหลังผ่านไป 10 วัน ซึ่งอัตรานี้ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทานยาหลอก ดังนั้น จึงไม่ชัดเจนว่าประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยยาแพกซ์โลวิดหรือไม่

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือปริมาณยาแพกซ์โลวิดอาจไม่แรงพอที่จะยับยั้งไวรัสได้ โดยแอนดี เปกอสซ์ นักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ แสดงความกังวลว่า มันอาจสามารถกระตุ้นไวรัสกลายพันธุ์ที่ดื้อยาขึ้นมาได้

“เราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าโดสที่เหมาะสมของยาแพกซ์โลวิดอยู่ที่ไหน เราไม่อยากสูญเสียยานี้ไป เพราะมันเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยพลิกสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่” เปกอสซ์กล่าว

ไฟเซอร์ทำการทดสอบยาแพกซ์โลวิดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือผู้ใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนซึ่งไม่เคยติดเชื้อมาก่อน และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคหัวใจและโรคเบาหวาน ซึ่งยาแพกซ์โลวิดช่วยลดความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตจาก 7% เหลือ 1%

อย่างไรก็ดี การทดสอบดังกล่าวไม่ได้สะท้อนถึงข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว โดยขณะนี้มีผู้ใหญ่ 89% ที่รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดส และมีชาวอเมริกัน 60% เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว

ทั้งนี้ ยังไม่มีคำตอบชัดเจนสำหรับชาวอเมริกันที่ได้รับวัคซีนซึ่งมีอัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาลต่ำกว่า 1% อยู่แล้ว แต่มีรายงานว่าไฟเซอร์กำลังเร่งทำการศึกษาขนาดใหญ่อยู่ ซึ่งคาดว่าจะมีผลการศึกษาออกมาในปลายฤดูใบไม้ร่วงนี้

นอกจากนี้ไฟเซอร์ยังได้รายงานผลศึกษาการให้ยาแพกซ์โลวิดแก่สมาชิกในครอบครัวของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งถือเป็นการป้องกันในเชิงรุกที่ระบุว่ามันไม่ได้ลดโอกาสในการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ แต่ไฟเซอร์กำลังศึกษาประโยชน์ที่เป็นไปได้อื่นๆ ของการใช้งานในช่วงต้น ซึ่งรวมถึงว่ายาแพกซ์โลวิดจะช่วยลดระยะเวลาและความรุนแรงของโควิด-19 ในครัวเรือนได้หรือไม่ด้วย

Adblock test (Why?)


มะกันพบเคสผู้ป่วยโควิดอาการกำเริบ หลังรับยาแพกซ์โลวิด - มติชน
Read More

No comments:

Post a Comment

ทำงานหนักจนลืมกินข้าว ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารจริงหรือไม่? - Hfocus

การกินอาหารไม่ตรงเวลา มีผลต่อโรคกระเพาะจริงไหม? ปรับพฤติกรรมอย่างไรจะช่วยลดอาการป่วย  ด้วยพฤติกรรม การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทำให้บางคนไม่สามา...